2.1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน หรือสภาพแวดล้อมภายใน (จุดอ่อน จุดแข็ง) จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงจุดเด่น และข้อเสียเปรียบของหมู่บ้าน
๑
จุดอ่อนคือ ลักษณะหรือข้อด้อยของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น
(๑.๑) ไม่มีเงินทุนในการประกอบอาชีพ
(๑.๒) ประชาชนขาดความรู้ด้านการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต
(๑.๓) ขาดการส่งเสริมและ ช่วยเหลือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
•ด้านเศรษฐกิจ
-
รายได้ของครัวเรือนไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย
-
ประชากรขาดความกระตือรือร้นในการพัฒนาอาชีพ
-
ประชากรในพื้นที่ว่างงาน,ตกงาน
-
ไม่มีที่ดินทำกิน ที่ทำกินไม่เพียงพอ
•ด้านสังคม (เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสการศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม)
-
เด็กและเยาวชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่นิยมตามกระแสวัฒนธรรมต่างชาติเพิ่มมากขึ้น
-
ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสยังได้รับการดูแลทางด้านสวัสดิการยังไม่ทั่วถึง
-
ผู้สูงอายุขาดการดูแลอย่างเหมาะสม
-
ครอบครัวแยกกันอยู่
•ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
ทรัพยากรทางธรรมชาติเสื่อมโทรม เช่น
ดินขาดคุณภาพสารอาหาร แข็งตัว ทำให้พืชต่างๆหาอาหารไม่ได้ เกษตรกร
ต้องหาธาตุอาหารต่างๆใส่บำรุงพืชทำให้มีรายจ่ายเพิ่มมากขึ้น
-
การใช้ดินและป่าอย่างไม่มีระบบและขาดการดูแล
-
สภาพดินที่ทำกินเสื่อมโทรมและขาดธาตุในดิน
•ด้านการเมืองและบริหารจัดการ
-
การจัดการด้านต่างๆ ยังเป็นไปด้วยความล่าช้า
-
การแบ่งหน้าที่ปกครองยังไม่เป็นระบบเท่าที่ควร
-
ประชาชนในหมู่บ้านขาดความรู้เรื่องประชาธิปไตย
ไม่กล้าแสดงออกในที่ประชุม เนื่องจากกลัวผู้อื่นไม่ชอบ ไม่พอใจที่นำเสนอผลงานนั้น
• ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
-
การคมนาคมภายในหมู่บ้านที่ใช้ถนนสายที่เป็นลูกรังยังไม่สะดวก
โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน
-
มีแหล่งน้ำไม่เพียงพอสำหรับการทำการเกษตร
เนื่องจากขาดระบบชลประทาน ทำให้การทำพืชไร่มีปัญหาในกรณีฝนทิ้งช่วง
• ด้านสาธารณสุข
-
ประชาชนในหมู่บ้านยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการกำจัดขยะที่เป็นระบบและปลอดภัย
-
ในช่วงฤดูฝนประชาชนในหมู่บ้านต้องพบกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
(๒)
จุดแข็ง คือ ศักยภาพความสามารถหรือข้อเด่นของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น
(๒.๑) การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของชุมชน
คิดเป็นร้อยละ ๙๐ ของครัวเรือนทั้งหมด
(๒.๒) การเป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆในหมู่บ้าน
คิดเป็นร้อยละ ๗๐ ของครัวเรือนทั้งหมด
(๒.๓)
การใช้แหล่งสินเชื่อเพื่อการผลิต คิดเป็นร้อยละ ๗๐
ของครัวเรือนทั้งหมด
• ด้านเศรษฐกิจ
-
ประชาชนส่วนใหญ่ของหมู่บ้านมีการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โดยเฉพาะการหาอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้เพิ่มด้วยหลักการพึ่งตนเอง ทำเองขายเอง
ทำให้ได้รับผลกำไรเพิ่มมากขึ้น
-
ผู้คนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านมีอาชีพค้าขาย
•ด้านสังคม(เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส การศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม)
-
เด็กและเยาวชนของหมู่บ้านส่วนใหญ่มีความกระตือรือร้นและเอาใจใส่ในการศึกษาเล่าเรียน
-
ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการพัฒนา
-
ประชาชนส่วนใหญ่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
-
สามารถดูแลตนเองและครอบครัว
-
สามารถสนองตอบความต้องการของสังคมได้
•ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
-
สภาพหมู่บ้านมีการพัฒนาให้สะอาดและน่าอยู่
-
ประชาชนรู้จักที่จะเลือกใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
•ด้านการเมืองและการบริหารจัดการ
-
หมู่บ้านมีผู้นำชุมชนที่มีความสามัคคี
มีจิตสาธารณะ และเสียสละ อุทิศตนเพื่อการพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเข้มแข็ง
และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
-
มีระบบการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง
-
การมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้าน
-
การแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๕ เขตปกครอง
• ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
-
ระบบสาธารณูปโภคของหมู่บ้าน
โดยส่วนใหญ่มีความพร้อมและสามารถสร้างความเป็นอยู่ที่ดีเพิ่มมากยิ่งขึ้น
รวมทั้งช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามมา
• ด้านสาธารณสุข
-
ประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย
หรือการออกแรงออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลทำให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเพิ่มขึ้น
๒.๒
การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หรือสภาพแวดล้อมภายนอก
จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงโอกาสและอุปสรรคการทำงานของหมู่บ้าน
(๑)
โอกาส
(๑.๑) ในเขตพื้นที่หมู่บ้านโต๊ะเวาะ มีส่วนราชการที่หลากหลายสาขา
และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการพัฒนา/บริการประชาชน
(๑.๒)
มีเจ้าหน้าที่ทหารรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนในหมู่บ้าน
(๑.๓) มีงบประมาณช่วยเหลือ กลุ่มอาชีพในหมู่บ้าน
เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบสามจังหวัดชายแดนใต้
(๑.๔) มีเจ้าหน้าที่ทหารรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนในหมู่บ้านโต๊ะเวาะภัยคุกคาม
(๒) อุปสรรค
(๒.๑)มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
(๒.๒)
ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการพัฒนา
(๒.๓)
ประชาชนรู้คุณค่าของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีเหตุมีผล
(อุปสรรค คือ ข้อจำกัด ศักยภาพความสามารถหรือข้อเด่นของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น)
๒.๓ วิสัยทัศน์(ทิศทางการพัฒนา)
วิสัยทัศน์
(สิ่งที่ชุมชนมุ่งหวังอยากให้เป็นในอนาคต) คือ
- หมู่บ้านปลอดยาเสพติด
พึ่งพาตนเองตามวิถีพอเพียง
๒.๔ยุทธศาสตร์
(ยุทธศาสตร์ คือ
แผนและนโยบายในการทำงานของหมู่บ้านให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้
ตัวอย่างยุทธศาสตร์ :
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของชุมชน
ครัวเรือนในการการศึกษาเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในวิถีชีวิตประจำวัน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการบริหารจัดการ
การพัฒนาชุมชนในการแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยการพึงตนเองเป็นหลัก
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่
๓ส่งเสริมและสนับสนุนการดำรงชีวิต โดยยึดหลักคำสอนศาสนา
สืบสานภูมิปัญญาอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม และรักษาสิ่งแวดล้อมชุมชน
ทั้งนี้ การเขียนประเด็นยุทธศาสตร์
ควรใช้ข้อความหลักสำคัญไม่ต้องอธิบายรายละเอียด)
๒.๕
กลยุทธ์
(กลยุทธ์
คือ หลัก วิธีการ
และแนวทางในการปฏิบัติตามประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายตามวิสัยทัศน์)
๑)
สร้างหมู่บ้านที่เข้มแข็ง มีความสามัคคี
และเสียสละเพื่อส่วนรวม
๒) การป้องกันภัยคุ้มกันยาเสพติด
2.4 โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบูรณาการวางแผนงาน
(CIA)
หมู่บ้านสามารถนำโปรแกรม CIA มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของหมู่บ้าน
เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาและจุดเด่นของหมู่บ้านได้ โดยการใช้ฐานข้อมูล จปฐ. และ
กชช.2ค. กรอกลงในโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งโปรแกรมจะวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 5 ด้าน ได้แก่
การพัฒนาด้านอาชีพ การจัดการทุนชุมชน การจัดการความเสี่ยงชุมชน
การแก้ปัญหาความยากจน การบริหารจัดการชุมชน
การใช้โปรแกรมดังกล่าวนอกจากเพื่อการวิเคราะห์สภาพความเป็นจริงของหมู่บ้านแล้ว ยังสามารถวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการทำSWOT เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์และตรงตามข้อเท็จจริงมากที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น